วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบปฏิบัติการ หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้


หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้

โปรแกรมอรรถประโยชน์ หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ มีหน้าที่บำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS utility program) และยูทิลิตี้อื่นๆ (Stand-alone utility program)

            โปรแกรมยูทิลิตี้ที่ติดตั้งให้โดยอัตโนมัติพร้อมกับการติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ คือ โปรแกรม Scandisk, โปรแกรม Defragmenter, โปรแกรมรักษาจอภาพ (Screen Saver)ฯลฯ โยโปรแกรมยูทิลิตี้นี้ ถือเป็นโปรแกรมในกลุ่มที่ใช้งานเพื่อบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์
            โปรแกรมยูทิลิตี้อื่นๆ เช่น โปรแกรม Nero, โปรแกรมป้องกันไวรัส, โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (Windward) เป็นต้น

โปรแกรมรักษาจอภาพ (Screen Saver)

          Screen Saver คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่รักษาจอภาพ เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้เป็นเวลานาน โดยปล่อยให้จอภาพ แสดงภาพเดิมโดยไม่มีการเคลื่อนไหวจะทำให้จอภาพเสื่อม เนื่องจากถูกยิงด้วยลำแสงอิเล็กตรอนเป็นเวลานานเกินไป ภาพนั้นจะไหม้ (burn) ลงไปในฟอสเฟอร์ของจอภาพ เป็นผลทำให้เกิดภาพที่ เรียกว่า ภาพหลอน (ghost image) ขึ้น และรอยนี้จะติดอยู่ตลอดไป ลบออกไม่ได้ หรืออาจทำให้จอมืด เมื่อเป็นเช่นนี้มนุษย์จึงคิดประดิษฐ์โปรแกรมถนอมภาพขึ้น เมื่อไม่ได้สัมผัสคอมพิวเตอร์ โดยปล่อยให้จอภาพค้างภาพเดิมอยู่นาน นาที (x=ระยะเวลาที่เราสามารถกำหนดตัวโปรแกรม Screen Saver จะทำงานทันที โดยบางโปรแกรมอาจมีภาพเคลื่อนไหว หรือตัวหนังสือวิ่งไปวิ่งมา หรือบางโปรแกรมอาจมีเสียงเพลง เมื่อขยับเมาส์ หรือสัมผัสที่แป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อความหรือภาพบนจอที่เคลื่อนไหว และกลับเป็นหน้าจอเหมือนเดิม โปรแกรม Screen Saver เหล่านี้จะช่วยให้จอมีการแสดงภาพเปลี่ยนไปมาเรื่อยๆ เพื่อรักษาหน้าจอเท่านั้น ไม่ได้เป็นการพักเครื่องหรือพักการทำงานของทีพียู

 การเรียกใช้งาน Screen Saver

            1. คลิกขวาที่เดสก์ทอป เลือก Personalize
            2. จะปรากฏหน้าต่าง Personalization เลือก Sceen Saver
            3. จะปรากฏหน้าต่าง Screen Saver เลือก Screen Saver ที่ต้องการใช้
            4. ปรับเวลา Screen Saver ตามต้องการและคลิกปุ่ม Preview เพื่อดูว่า Screen Saver

            5. คลิกปุ่ม OK

โปรแกรม Derangement

            การทำ Defray ฮาร์ดดิสก์หรือ Disk Derangement คือ การจัดเรียงข้อมูลของไฟล์ต่างๆ ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ให้มีความต่อเนื่องหรือเรียงเป็นระบบต่อๆ กันไป ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ความเร็วในการอ่านข้อมูลของไฟล์นั้น จะมีการอ่านข้อมูลของไฟล์นั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ก็จะต้องมีการเคลื่อนย้ายไปมาเพื่อทำการอ่านข้อมูลจบครบ หากมีการทำ Defray ฮาร์ดดิสก์ จะทำให้การเก็บข้อมูลมีความต่อเนื่องกันมากขึ้น เมื่อต้องการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านของฮาร์ดิสก์จะสามารถอ่านได้โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายหัวอ่านบ่อยหรือมากเกินไป จะทำให้ใช้เวลาในการอ่านได้เร็วขึ้น

ยังมีโปรแกรมของบริษัทอื่นๆ อีกหลายตัวที่สามารถทำการจัดเรียงข้อมูลให้มีความต่อเนื่องกันได้ เช่น Speed disk ของ Norton และอื่นๆ อีกมาก แต่ในที่นี้จะขอแนะนำหลักการของการใช้โปรแกรม Disk Derangement ที่มีการให้กับ Windows อยู่แล้ว ไม่ต้องไปค้นหาจากที่อื่น

 การเรียกใช้โปรแกรม Disk Derangement

            1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Disk Derangement เลือก Properties
            2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Defragment now
            3. คลิกเลือกไดร์ฟ คลิกคำสั่ง Analyze disk
            4. รอสักครู่เครื่องจะทำการ Analyze disk
            5. เมื่อเครื่อง Analyze disk เรียบร้อย คลิกที่ Defragment disk
            6. รอสักครู่เครื่องจะทำการ Defragment disk


 ข้อควรระวังในการ Derangement

            ในขณะที่กำลังทำการ Defray หากต้องการยกเลิกการทำงาน จะต้องกดที่ stop operation เท่านั้นห้ามปิดเครื่องหรือกดปุ่ม Reset เด็ดขาด ไม่เช่นนั้นข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อาจจะสูญหายได้

โปรแกรม Nero Burning Rom 11

            Nero Burning Rom เป็นโปรแกรมการเขียนซีดี (CD) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยให้การเขียนแผ่นซีดีสะดวก เช่น การนำข้อมูลหรือเพลงบันทึกลงบนแผ่นซีดี ซึ่งสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลลงไปในรูปแบบของ CD-R หรือ CD-RW การตัดต่อแก้ไขไฟล์มัลติมีเดีย แชร์ไฟล์และอัพโหลดไฟล์ออนไลน์ผ่าน Nero

ขั้นตอนการติดตั้ง Nero Burning Rom 11

          1. ดับเบิ้ลคลิกที่โปรแกรม Nero Burning Rom 11
            2. จะปรากฏหน้าต่างการเข้าสู่กระบวนการติดตั้ง
            3. คลิก ติดตั้ง เพื่อเริ่มต้นการติดตั้ง
            4. จะปรากฏหน้าต่าง Install Shield Wizard
            5. ตรวจสอบหมายเลขซีเรียล คลิก ถัดไป
            6. คลิกที่ ข้าพเจ้ายอมรับเงื่อนไงในข้อตกลงใบอนุญาต คลิก ถัดไป
            7. คลิก ติดตั้ง
            8. รอสักครู่ระหว่างที่ Install Shield Wizard กำลังติดตั้ง Nero Burning Rom 11
            9. การติดตั้ง Nero Burning Rom 11 เสร็จสิ้นแล้ว คลิก สิ้นสุด


 ขั้นตอนการเรียกใช้ Nero Burning Rom 11

          1. คลิกที่ปุ่ม start เลือก All Programs
            2. เลือก Nero > Nero 11> Nero Burning ROM 11
            3. จะปรากฏหน้าต่าง Nero Burning ROM

โปรแกรม Scan Disk

Scan Disk คือ การตรวจสอบการทำงาน และความบกพร่องของฮาร์ดดิสก์ และระบบไฟล์ของ Windows ในเบื้องต้น เมื่อการทำงานต่างๆ ของ Windows เริ่มมีปัญหา อาจจะใช้โปรแกรม Scan Disk ตรวจสอบ ฮาร์ดดิสก์และระบบไฟล์ต่างๆ ของ windows จะช่วยแก้ไขปัญหาของระบบไฟล์ได้ ถ้าการเสียหายนั้นไม่มากจนเกินไป

 วิธีการใช้งาน Scan Disk ดังนี้

1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ที่ต้องการทำ Scan Disk เลือก Properties
2  คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Check Now
3. คลิกเครื่องหมายที่ถูกที่ Scan for and attempt recovery of bad sectors แล้วคลิก Start
4. รอสักครู่เครื่องจะทำการ Scan Disk
5. เมื่อเครื่องทำการ Scan Disk เสร็จ จะรายงานได้ทราบให้คลิก Close

ระบบปฏิบัติการ หน่วยที่ 2 หลักการทำงานของคอมพิวเตร์


หน่วยที่ 2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์


หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์


การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ
  • หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
  • หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
  • หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
  • หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)
  • หน่วยแสดงผล (Output Unit)




        กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ  เริ่มด้วย
เมื่อมีการกดปุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์  โปรแกรมหรือชุึดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความ
จำหลัก  จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมที่จะทำงาน  เมื่อตรวจสอบ
เสร็จคอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทำงาน  ก็จะมีการป้อนคำสั่งหรือ
โปรแกรมหรือข้อมูลโดยผ่านหน่วยรับข้อมูล  แล้วนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความ
จำหลัก  ต่อจากนั้น หน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการตามคำสั่งของโปรแกรม
ซึ่งเรียกว่า  การประมวลผล  แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ที่ หน่วยความจำ  และ
จะแสดงผลลัพธ์ผ่านหน่วยแสดงผลเมื่อมีคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์

การทำงานของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ หมายถึง ส่วนการทํางานที่จําเป็นสําหรับ

คอมพิวเตอร์ ส่วนคือส่วนที่ทําหน้าที่รับข้อมูล และคําสั่ง หรือเรียกว่าหน่วยรับ

ข้อมูลเข้า ส่วนที่ทําหน้าที่นําข้อมูลที่นําเข้า หรือคําสั่งไปประมวลผล หรือเรียกกว่า

หน่วยประมวลผลกลาง ส่วนที่ทําหน้าที่นําผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลาง

ไปแสดง หรือเรียกกว่าหน่วยแสดงผล และส่วนที่ทําหน้าที่จัดเก็บข้อมูลไว้เพื่อที่

จะนํามาใช้ในภายภาคหน้าหรือเรียกว่าว่าหน่วยเก็บข้อมูลสํารองจําลองลักษณะ

การทํางานที่จําเป็นสําหรับคอมพิวเตอร์ (องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์)


หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)

หน่วยรับข้อมูลเข้า เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่รับข้อมูล หรือคําสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์


เพื่อให้คอมพิวเตอร์นําข้อมูล หรือคําสั่งดังกล่าวไปประมวลผลกลางต่อไป 

ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่จัดอยู่ในหน่วยรับข้อมูลเข้าได้แก่

·     แป้นพิมพ์ (Keyboard)
·     เมาส์ (Mouse)
·     ไมโครโฟน (Microphone)
·     แสกนเนอร์ (Scanner)
·     กล้องดิจิตอล
·     ตัวอย่างของหน่วยรับข้อมูลเข้าแสดงในรูป

หน่วยประมวลผล (Central Process Unit)

หน่วยประมวลผลกลาง เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุด เปรียบได้กับสมองของ

คอมพิวเตอร์มีหน้าที่ประมวลผลของมูล หรือคําสั่งต่าง ๆ และมีหน้าที่ควบคุม

ระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทํางานสอดคล้องกัน ซึ่งหน่วยประมวล

ผลการจะประกอบด้วยหน่วยย่อย ๆ ดังต่อไปนี้

·         หน่วยความจํา (Memory Unit)
·         รีจิสเตอร์ (Register) คือ หน่วยความจําที่อยู่ภายใน CPU ทําหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งมาจากหน่วยความจําหลัก และจะนําข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล
·         รอม (Read Only Memory: ROM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดถาวรของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บคําสั่งต่าง ๆ ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลในรอมได้ เปรียบได้กับหนังสือที่จะเก็บความรู้ต่าง ๆ เอาไว้
·         แรม (Random Access Memory: RAM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดหนึ่งของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บข้อมูล หรือคําสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล สามารถแก้ไขข้อมูลในแรมได้ และข้อมูลจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง
·        
·         หน่วยควบคุม (Control Unit) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานทุกๆ หน่วยในCPU และอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ทํางานได้อย่างสัมพันธ์กัน

หน่วยแสดงผล (Output Unit)

หน่วยแสดงผลเป็นหน่วยที่ทําหน้าที่นําผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลางแสดง


ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จัดเป็นชนิดหน่วยแสดงผลได้แก่


·         จอภาพ
·         เครื่องพิมพ์
·         ลําโพง
·         ตัวอย่างของหน่วยแสดงผลดังแสดงในรูป

หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง (Secondary Storage)

หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง คือ สื่อในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น Hard disk, CD-


ROM,Tape, Floppy diskเป็นต้น



ซอฟต์แวร์ (Software)

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ 

เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้

ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมา

จาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี 

โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์

เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา

ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ


·         ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
·         ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )

ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจาก

ซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถ

เริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็น

ซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตาม

ความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

บุคลากร (People ware)

เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่า

นี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้

ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดย

มนุษย์เสมอ


ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้


คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็

พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้

โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)


ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษา


วิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน

นี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของ

ระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียน

โปรแกรม(programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะ

สามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้

เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป


บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบ


คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์

มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้

·         การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
·         การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer)เป็นต้น
·         การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Administratorเป็นต้น
·         การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ หน่วยที่ 4 การเลือกใช้และติดตั้งระบบปฏิบัติการ


หน่วยที่ 4 การเลือกใช้และติดตั้งระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Portable operating system)


      เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ไม่ยึดติดกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ประเภทใด เช่น ระบบปฏิบัติการ Unix, Linux, Ubuntu






การ Log on เพื่อเข้าใช้งาน


        เมื่อเปิดใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วินโดวส์จะเริ่มทำงานเรียกสิ่งนี้ว่า การบูทเครื่อง” ก่อนที่จะเข้าใช้
งาน Windows จะต้องมีการ Log no โดยอาจจะมีรหัสที่ตั้งไวเพื่อให้ผู้ใช้ที่รู้รหัสผ่านเท่านั้นสามารถ
เข้าใช้งานวินโดวส์ได้และยังเป็นการป้องกันข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญไม่ให้เกิดความเสียหาย ผู้ใช้จึงควรรู้ขั้น
ตอนการ Log on เพื่อเข้าใช้งาน ซึ่งมีวิธีตาขั้นตอน ดังนี้
     1.คลิกที่รูป User account หรือกด Enter เพื่อเข้าใช้งานวินโดวส์
     2.ถ้ามีรหัสผ่านก็ใส่รหัสผ่านลงในช่องนี้ก่อน
     3.กด Enter หรือคลิกที่ปุ่มนี้เพื่อเข้าสู่การใช่งานวินโดวส์

ระบบปฏิบัติการแบบปิด (Proprietary Operating System)


      เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ ระบบหนึ่งระบบใดหรือยี่ห้อหนึ่ง ยี่ห้อ
ใดเท่านั้น ตัวอย่างสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมา เพื่อใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ประเภทเดียวไม่สามารถนำ
ไปใช้กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ ได้ เช่น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่องใน
ตระกูล Apple ซึ่งใช้ซีพียู ยี่ห้อ Motorola ไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้มาใช้กับเครื่องไมโคร
คอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปได้








ระบบปฏิบัติการ หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้

หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ โปรแกรมอรรถประโยชน์ หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ มีหน้าที่บำรุง...