องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่นำมาประกอบกันแล้วจะได้คอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์ 1 เครื่อง ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญหลายส่วนดังนี้
1.1 กล่องซีพียู (Case)
เป็นองค์ประกอบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญมากภายในบรรจุแผงเมนบอร์ด
แหล่งจ่ายไฟและหน่วยความจำต่างๆ เช่น รอม แรม ฮาร์ดดิส ดิสก์ไดร์ฟและซีดีรอม
เป็นต้น ที่เรียกว่า กล่องซีพียูเพราะ ภายในเครื่อง
บริเวณแผงเมนบอร์ดเป็นที่ติดตั้งซีพียู ( CPU ) ซึ่งถือว่าเป็นมันสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์
1.2 แป้นพิมพ์ (Keyboard)
คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการพิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อให้หน่วย ประมวลผลข้อมูลกลาง ( CPU ) ทำการประมวล
แป้นพิมพ์จัดเป็นอุปกรณ์ด้านหน่วยป้อนข้อมูล ( Input Unit ) ที่ทำหน้าที่ ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
1.3เมาส์ (Mouse)
คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการคลิก ดับเบิลคลิก
และเลื่อนตำแหน่งเพื่อสั่งงาน ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ในกรณีที่ไม่สามารถสั่งงานทางแป้นพิมพ์ได้
เมาส์จัดเป็นอุปกรณ์ด้านหน่วยป้อนข้อมูลเช่นเดียวกับแป้นพิมพ์
แต่ใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกัน
1.4 จอภาพ (Monitor)
คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลของซีพียู
เพื่อทำให้ผู้ใช้มองเห็นผลลัพธ์และสามารถติต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
จอภาพจัดเป็นอุปกรณ์ด้านหน่วยแสดงผล ( Output Unit ) ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล
1.5 ลำโพง (Speaker)
คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียงและแสดง
เสียงออกทางลำโพงทำให้ผู้ใช้ได้ยินสัญญาณเสียงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เสียงเพลง
และเสียงพูดต่าง ๆ ลำโพงจัดเป็นอุปกรณ์ ด้านหน่วยแสดงผล ( Output Unit
) ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล
2.ระบบคอมพิวเตอร์
ในการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแล้วให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามความต้องการของผู้ใช้งานนั้น
ย่อมต้องมีองค์ประกอบที่เรียกว่า
ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภททำงานร่วมกัน
โดยมีคำสั่งหรือที่เรียกว่าโปรแกรมเป็นตัวสั่งการให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานได้ตามที่มนุษย์ต้องการ
ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงระบบคอมพิวเตอร์สิ่งสำคัญของระบบจึงได้แก่ ฮาร์ดแวร์(hardware) ซอฟต์แวร์(software) และบุคลากร(People
ware) นั่นคือ
เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
2.1 ฮาร์ดแวร์
(Hardware) ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้
ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีย์บอร์ด
เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ
2.2 ซอฟต์แวร์ (Software) คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง
ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น
ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์
เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้
2.3 บุคลากร (People ware) จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการใช้งานคอมพิวเตอร์
ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรตามหน้าที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานได้ 6 ด้าน ดังนี้
2.3.1 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analyst and
Designer : SA ) ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ
และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรม (Programmer) หรือปรับปรุงคุณภาพงานเดิม นักวิเคราะห์ระบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
พื้นฐานการเขียนโปรแกรม
และควรจะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
2.3.2 โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ต่างๆ
(Software) หรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
2.3.3 ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหรือกำหนดความต้องการในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ว่าทำงานอะไรได้บ้าง
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง
และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
2.3.4 ผู้ปฏิบัติการ (Operator) สำหรับระบบขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม
จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง
และเฝ้าดูจอภาพเมื่อมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขัดข้อง จะต้องแจ้ง System
Programmer ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมระบบควบคุมเครื่อง (System Software) อีกทีหนึ่ง
2.4 ข้อมูล (Data) หมายถึง
ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ตัวเลขตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ต่างๆ
ทำความหมายแทนสิ่งเหล่านั้น เช่น
· คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน
· อายุของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
· ราคาขายของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
1. ประเภทของคอมพิวเตอร์
3.1 แบ่งตามความสามารถของระบบ
3.1.1 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
หมายถึง
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด
โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน
และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
3.1.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
หมายถึง
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง
สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ
นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี
โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi-Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่
มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท
ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ
คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
3.1.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง
ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า
เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้
มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Hard disk) ในการเก็บรักษาข้อมูล
สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้
ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล
และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
3.1.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
หมายถึง
เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด
สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
3.2 แบ่งตามหลักการประมวลผล
3.2.1 คอมพิวเตอร์แบบอนาล็อก (Analog Computer)
หมายถึง
เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง
(Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog
Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์
และเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัด
การวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอทเปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ Analog
Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น
เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ
ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้
หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น
3.2.2 คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer)
ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ
ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับ
ทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลา (Clock Time) มาตรฐาน
ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง
เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น เนื่องจาก Digital
Computer ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า
(มนุษย์สัมผัสไม่ได้) ทำให้ไม่สามารถรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยตรง
จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลต้นทางที่รับเข้า (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Digital Signal) เสียก่อน
เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็น Analog
Signal เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ต่อไป
โดยส่วนประกอบสำคัญที่เรียกว่า
ตัวเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล (Converter) คอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ระหว่าง Digital
Signal กับ Analog Signal
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน
ระหว่าง Analog
Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น
เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้น
การทำงานแบบผสมผสานของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้
ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม
3.3 แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
3.3.1 เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานเฉพาะกิจ (Special
Purpose Computer)
หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบตัวเครื่องและโปรแกรมควบคุมให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ
(Inflexible) โดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุมหรืองานอุตสาหกรรมที่เน้นการประมวลผลแบบรวดเร็วเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร
คอมพิวเตอร์ควบคุมลิฟท์หรือคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติในรถยนต์ เป็นต้นฃ
3.3.2 เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานอเนกประสงค์ (General Purpose Computer)
หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน
(Flexible) โดยได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ
ได้โดยสะดวกโดยระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาและเมื่อผู้ใช้ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่เหมาะสมเข้ามาใช้งานโดยเรา
สามารถเก็บโปรแกรมไว้หลายโปรแกรมในเครื่องเดียวกันได้ เช่นในขณะหนึ่งเราอาจใช้เครื่องนี้ในงานประมวลผลเกี่ยวกับระบบบัญชีและในขณะหนึ่งก็สามารถใช้ในการออกเช็คเงินเดือนได้
เป็นต้น
วิดีโอ
YouTube
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น