วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

มัลติมีเดีย หน่วยที่ 3 ขั้นตอนการวางโครงร่างและการสร้างสไลด์


หน่วยที่ 3 ขั้นตอนการวางโครงร่างและการสร้างสไลด์


มุมมองต่าง ๆ ในโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2013

          ในโปรแกรม PowerPoint มีมุมมองให้เลือกพิจารณาใช้งาน 3 มุมมองด้วยกัน คือ มุมมองปกติ มุมมองตัวเรียงลำดับภาพนิ่ง และมุมมองนำเสนอภาพนิ่ง ซึ่งแต่ละมุมมองก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไปดังนี้

          1.  มุมมองปกติ (Normal)

              มุมมองนี้ใช้ในการสร้างและตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ภายในสไลด์ โดยประกอบด้วยการทำงานที่แตกต่าง แบบคือ แบบเค้าร่าง และแบบภาพนิ่ง

              แบบภาพนิ่ง (Slide)

              จะใช้ในการปรับแต่งองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น รูปแบบข้อความ


              แบบเค้าร่าง (Outline)

              จะแสดงเนื้อหาที่ใช้ในการนำเสนอ และแก้ไขข้อความหรือเพิ่มหัวข้อที่ต้องการ





              สำหรับมุมมองนี้จะเป็นมุมมองที่ใช้งานบ่อยที่สุด ต่อไปนี้จะเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ในหน้านี้                    หน้าต่างเค้าร่าง (Slide)  เหมาะสำหรับเริ่มต้นเขียนเนื้อหา วางแผนวิธีนำเสนอและย้ายภาพนิ่งและข้อความแท็บเค้าร่างแสดงข้อความในภาพนิ่งในรูปแบบเค้าร่าง                    หน้าต่างภาพนิ่ง (Outline)  สำหรับดูภาพนิ่งในการนำเสนอเป็นรูปขนาดย่อเห็นลักษณะพิเศษของการเปลี่ยนแปลงการออกแบบใดๆได้นอกเหนือจากนี้ยังสามารถจัดเรียงใหม่ เพิ่ม หรือลบภาพนิ่งได้อย่างง่าย                    หน้าต่างภาพนิ่ง (Slide Pane)  ในส่วนบนขวาของหน้าต่าง PowerPoint บานหน้าต่างภาพนิ่งจะแสดงมุมมองขนาดใหญ่ของภาพนิ่งปัจจุบันเมื่อภาพนิ่งปัจจุบันแสดงใน มุมมองนี้สามารถเพิ่มข้อความและแทรกรูปภาพตารางกราฟิก SmartArt แผนภูมิวัดถูกรูปภาพของข้อความภาพยนตร์เสียงการเชื่อมโยงหลายมิติและภาพเคลื่อนไหวได้                    หน้าต่างบันทึกย่อ (Note Pane)  ในบานหน้าต่าง "บันทึกย่อ" ที่อยู่ด้านล่างบานหน้าต่าง "ภาพนิ่ง" สามารถพิมพ์บันทึกย่อที่นำไปใช้กับภาพนิ่งปัจจุบัน จากนั้นสามารถพิมพ์บันทึกย่อและเก็บไว้ใช้อ้างอิงเมื่อทำการนำเสนอ          2. มุมมองตัวเรียงลำดับภาพนิ่ง (Slide sorter)

              มุมมองนี้เป็นมุมมองที่แสดงภาพนิ่งทั้งหมดในการนำเสนอโดยจะแบ่งเป็นสไลด์เล็กๆ เรียงลำดับเหมาะสำหรับใช้งานในการตรวจสอบงานนำเสนอก่อนนำไปเสนอจริงสามารถแทรกสไลด์แผ่นใหม่สำเนาลบย้ายตำแหน่งตลอดจนการกำหนดเทคนิคหรือลูกเล่นในการเปลี่ยนแปลงสไลด์ได้อีกด้วย


          3. มุมมองการนำเสนอภาพนิ่ง (Slider show)

              มุมมองนี้เป็นมุมมองที่ใช้ในการนำเสนอภาพนิ่งต่อสายตาผู้ชมเวลานำเสนอจริงมักจะต่อส่วนสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องฉายโปรเจ็กเตอร์ไปยังจอภาพขนาดใหญ่เพื่อบรรยายหรือนำเสนอให้ห้องประชุมขนาดใหญ่

การวางแผนการทำงานกับมุมมองต่าง ๆ ในโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2013


              เนื่องจากมุมมองต่าง ๆ ใน PowerPoint มีประโยชน์แตกต่างกันออกไปจึงสามารถวางแผนขั้นตอนการทำงานโดยอาศัยความสามารถและประโยชน์ของแต่ละมุมมองได้ดังนี้              1.  วางแผนงานนำเสนอด้วยมุมมอง ปกติ (เค้าร่าง)              2.  ใส่เนื้อหากราฟิกต่างๆในมุมมอง ปกติ (ภาพนิ่ง)              3.  เรียงลำดับสไลด์และใส่ Effect ต่าง ๆ ในมุมมองตัวเรียงลำดับภาพนิ่ง              4.  นำเสนองานด้วยมุมมองการนำเสนอภาพนิ่ง              โดยจะมาศึกษารายละเอียดของแต่ละขั้นตอนดังนี้

              ลำดับที่ 1  วางแผนงานนำเสนอด้วยมุมมอง ปกติ (เค้าร่าง)

              ขั้นตอนแรกของการสร้างงานนำเสนอจะต้องวางแผนในการทำงานเสียก่อน โดยจะต้องวางโครงร่างของสไลด์แต่ละแผ่น ซึ่งจะต้องมีหัวข้อใหญ่และเนื้อหาภายในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อที่จะทำให้การนำเสนอมี ประสิทธิภาพมากขึ้น              โดยจะสามารถทำความรู้จักกับมุมมองเค้าร่างกันเสียก่อนโดยพื้นที่การทำงานของมุมมองนี้จะอยู่บริเวณหน้าต่างทางซ้ายของโปรแกรมและคลิกขวาบนข้อความเพื่อเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ โดยมีส่วนประกอบสำคัญดังนี้              1.  คลิกเพื่อเข้าสู่มุมมองเค้าร่าง (Outline)              2.  เลือกข้อความที่ต้องการ              3.  คลิกเมาส์ขวาเพื่อเลือกเครื่องมือที่ต้องการจัดการกับข้อความ



              ลำดับที่ 2  การใส่องค์ประกอบเนื้อหาลงในสไลด์

              ขั้นตอนต่อจากการวางโครงร่าง ต่อไปจะมาจัดการวางเลย์เอาต์ลงในสไลด์ว่าแต่ละหน้าควรจัดวางเนื้อหาอย่างไร

              การปรับ/ขยายสไลด์

              สามารถปรับเพื่อย่อหรือขยายสไลด์ดูอย่างใกล้ ๆ เพื่อจะได้ตกแต่งสไลด์อย่างละเอียดและออกไปไกล ๆ เพื่อดูองค์ประกอบโดยรวม การย่อหรือขยายนั้นจะไม่มีผลต่อขนาดของสไลด์แต่อย่างใด              1.  คลิกเพื่อเปิดหน้าต่าง การย่อ/ขยาย Zoom Level              2.  เลือกขนาดที่ต้องการหรือพิมพ์ค่าเพื่อกำหนดเอง              3.  คลิกปุ่มตกลง (OK)


              4.  หรือใช้วิธีการเลื่อน Scroll Bar เพื่อปรับขนาดก็ได้



              การจัดวางเลย์เอาต์ให้กับหน้าสไลด์

              เมื่อใส่เนื้อหาเค้าร่างแล้วขั้นตอนต่อไปก็สามารถใช้เลย์เอาต์เพื่อจัดวางส่วนประกอบต่าง ๆ ได้ดังนี้              1.  คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการ
              2.  คลิกที่แท็บ หน้าแรก (Home)
              3.  เลือกปุ่มคำสั่งเค้าโครง (Slide Layout)


              4.  เลือกรูปแบบที่ต้องการในกลุ่มคำสั่งภาพนิ่ง (Slides)


              5.  จะได้สไลด์เดิมในรูปแบบเลย์เอาต์ใหม่ที่เลือก


              ลำดับที่ 3 การจัดลำดับสไลด์

              เมื่อได้ใส่เนื้อหาลงในสไลด์แล้วต่อไปก็จะมาทำการจัดลำดับสไลด์ หากสไลด์ที่ตรวจดูนั้นมีการตกหล่นหรือเรียงลำดับไม่ถูกต้อง สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งใหม่ได้

              การแทรกสไลด์แผ่นใหม่

              1.  คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการให้แทรกเข้ามาเพิ่ม              2.  คลิกที่ปุ่มคำสั่งสร้างภาพนิ่ง (New Slide) ในกลุ่มคำสั่งภาพนิ่ง (Slide)              3.  เลือกรูปแบบที่ต้องการ

              4.  จะได้สไลด์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามา



              การแทรกสไลด์แผ่นใหม่ด้วยการคัดลอก

              1.  คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการคัดลอก              2.  คลิกเลือกปุ่มคำสั่งการสร้างภาพนิ่ง (New Slide)              3.  เลือกทำซ้ำ ภาพนิ่งที่เลือก (Duplicate Selected Slides)




              4.  จะได้สไลด์ใหม่ที่ได้ทำการคัดลอกไว้เพิ่มเข้ามา



              การย้ายตำแหน่งสไลด์

              1.  คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการย้ายตำแหน่ง              2.  แดรกเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการจะปรากฏเส้นที่บอกตำแหน่งที่ต้องการย้าย              3.  จะได้สไลด์ที่ต้องการย้ายไปอยู่ในตำแหน่งใหม่






              การลบสไลด์

              1.  คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการลบ              2.  คลิกปุ่มคำสั่งตัด (Cut) หรือคำสั่งลบสไลด์ (Delete Slide)              3.  สไลด์ที่เลือกไว้จะหายไป







              ลำดับที่ 4 การนำเสนองานด้วยมุมมอง การนำเสนอภาพนิ่ง

              เมื่อสร้างและจัดวางหน้าสไลด์การนำเสนอทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำเสนอได้ในการนำเสนอภาพนิ่งได้ทันที โดยมีขั้นตอนดังนี้              1.  คลิกเมาส์มุมมอง การนำเสนอภาพนิ่ง (Slide Show)


              2.  จะปรากฏงานนำเสนอในมุมมองการนำเสนอภาพนิ่ง
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ระบบปฏิบัติการ หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้

หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ โปรแกรมอรรถประโยชน์ หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ มีหน้าที่บำรุง...