1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ
จะประกอบไปด้วยชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุม จัดสรรทรัพยากร ดูแลการดำเนินงานต่างๆภายในคอมพิวเตอร์
และเป็นตัวกลางในการประสานงานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ เพื่อตอบสนองให้ผู้ใช้งานให้เป็นประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ระบบปฏิบัติการบางตัวจำเป็นต้องใช้งานบนแพลตฟอร์มโดยเฉพาะ หรือกล่าวคือ เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนผลลัพธ์และส่งออก (Input/Output) บางครั้งก็เรียกว่า แพลตฟอร์ม (Platform)
ความสำคัญของระบบปฏิบัติการ
ในอดีตการพัฒนาโปรแกรมสำหรับหน้าที่หนึ่งๆ ต้องใช้เวลามาก เพราะต้องเขียนโปรแกรมถึง 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ โปรแกรมที่ทำงาน และโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ภายในเครื่อง เมื่อมีการสร้างโปรแกรมใหม่ ปัญหาก็ คือ ต้องมีการสร้างโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อีกครั้ง ซ้ำซ้อนกับผู้อื่นที่ได้สร้างโปรแกรมนี้ไว้แล้ว ทำให้พัฒนาโปรแกรมเป็นไปอย่างล่าช้า เพื่อแก้ปัญหานี้จึงได้มีการคิดค้นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางควบคุม อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ขึ้น ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ระบบปฏิบัติการ หรือ โอเอส (OS: Operating System) ทำให้ไม่ต้องมีการเขียนโปรแกรมที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อีกต่อไป เพราะสามารถทำงานผ่านระบบปฏิบัติการได้โดยตรง
ประเภทของระบบฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่
1. DOS (Disk Operating System: DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้วการใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร DOS เป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์
2. Windows ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส
3. Linux โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรมระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
ระบบปฏิบัติการ Linux คือ
ลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรมระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
คุณสมบัติของ Linux คือ
- 1. มัลติทาสกิ้ง (Multi-tasking) เป็นคุณสมบัติที่สามารถใช้งานหรือทำงานหลายงานในเวลาเดียวกัน
- 2. มัลติยูสเซอร์ (Multi-user) เป็นคุณสมบัติที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานได้พร้อมๆกัน หลายๆคนได้
อนาคตของลีนุกซ์
ลีนุกซ์นั้นมีนักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันทำให้การขยายตัวของลีนุกซ์เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยในส่วนของแกนระบบปฏิบัติการ หรือเคอร์เนลนั้นจะมีการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทำงานแบบหลายตัวประมวลผลแบบ AMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทำให้ระบบลีนุกซ์สามารุนำไปใช้สำหรับทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้ และยังมีโครงการสนับสนุนการใช้งานบรระบบลีนุกซ์อีกหลายโครงการ เช่น ODE (The K Desktop Environment) และ GNOME (GNU Network Object Model Environment) ซึ่งจะช่วยพัฒนา desktop บนลีนุกซ์ให้สมบูรณ์เทียบเท่ากับ Windows 98 ของไมโครซอฟท์ และบรรดาบริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์ทางด้านระบบฐานข้อมูลชั้นนำ อย่างเช่น Inform ix, Oracle, IBM DB2 ก็เริ่มให้มีสนับสนุนการใช้งานบนระบบลีนุกซ์ แล้วเช่นเดียวกัน
ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
ระบบปฎิบัติการ คือ ระบบคอมพิวเตอร์แทบทุกระบบถือว่าระบบปฎิบัติการเ็นส่วนสำคัญของระบบ โดยทั่วไประบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ระบบปฎิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ และผู้ใช้
1. ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
2. ระบบปฎิบัติการ คือ เป็นโปรแกรมที่ทำงานเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. โปรแกรมประยุกต์ คือ คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ เช่น งานส่วนตัว งานทางด้านธุรกิจ งานทางด้านวิทยาศาสตร์ โปรแกรมทางธุรกิจ เกมส์ต่างๆ ระบบฐานข้อมูล
4. ผู้ใช้ คือ ถึงแม้ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดอีกองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งได้แก่ องค์ประกอบทางด้านบุคลากรที่จะเป็นผู้จัดการและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น คอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ระบบปฏิบัติการ Windows
ระบบปฏิบัติการ Windows 7 เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวที่ 7 ของสายตระกูลวินโดวส์ Windows 7 ในแรกเริ่มเดิมทีมีชื่อหรือรหัสในการพัฒนาว่า แบล็คโคมบ์ (Backcomb) ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็น เวียนนา (Vienna) โดย Windows 7 จะถูกผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับ Vista ที่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งคำว่า 7 น่าจะมาจากการเป็นวินโดว์รุ่นที่ 7 โดยเริ่มจากการนับ คือ 3.1,คือ 4.0, คือ 4.0.1998, คือ 4.10.2222 คือ 4.90.3000, คือ 5.0, คือ 5.1,คือ 6.0 และ Windows 7 คือ 6.1
สำหรับ Windows 7 ทั้ง 6 รุ่นก็มี ดังนี้
- Windows 7 Starter
- Windows 7 Home Premium
- Windows 7 Home Basic
- Windows 7 Professional
- Windows 7 Enterprise
- Windows 7 Ultimate
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงาน หรือฮาร์ดแวร์ของระบบ แบ่งออกได้ดังนี้
1. ติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) คือ ผู้ที่ใช้สามารถที่จะติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางด้านระบบปฏิบัติการ โดยที่ระบบปฏิบัติการนั้นจะส่งข้อความตอบโต้ไปยังผู้ใช้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งหรือสั่งการด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรมแกรมประยุกต์ต่างๆ เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เราใช้งานด้วย
2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ เนื่องจากผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้อง
3. จัดสรรให้ใช้ทรัพยากรระบบร่วมกัน (shared resources) คือ สิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้ เช่น หน่วยประมวลผล (CPU) หน่วยความจำ (Memory) อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล (Input/Output)
ดังนั้น ระบบปฏิบัติการจะต้องจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถ้าระบบปฏิบัติการสามารถจักสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพแล้ว กา
รทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ ก็สามารถทำให้ได้รวดเร็ว และได้ปริมาณงานเพิ่มขึ้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น