วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

มัลติมีเดีย หน่วยที่ 9 การใส่ลูกเล่นในการนำเสนอ


หน่วยที่ 9 การใส่ลูกเล่นในการนำเสนอ

รูปแบบในการใส่ลูกเล่นในงานนำเสนอ

          นำเสนอแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ

          1. การใส่ลูกเล่นให้กับหน้าสไลด์

              จะเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับหน้าสไลด์ที่กำลังแสดงและจบลงโดยมีขั้นตอนในการสร้างดังนี้              1. เลือกสไลด์ที่ต้องการลูกเล่น              2. คลิกแท็บการเปลี่ยน              3. เลือกรูปแบบการเปลี่ยนสไลด์              4. เลือกเสียงประกอบให้กับสไลด์              5. กำหนดระยะเวลาการเล่น




          2. การใส่ลูกเล่นให้กับวัตถุภายในสไลด์

              จะเป็นการสร้างการเคลื่อนไหวให้กับประกอบต่างๆที่อยู่ภายในสไลด์โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ

              1. การใส่ลูกเล่นอย่างง่าย

                  วิธีนี้เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดใช้โปรแกรมเพราะโปรแกรมจะมีรูปแบบสำเร็จรูปไว้ให้เลือกใช้งานได้ตามความพอใจซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด                  1. คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการใส่ลูกเล่น                  2. คลิกแท็บภาพเคลื่อนไหว                  3. เลือกรูปแบบที่ต้องการ




              2. การใส่ลูกเล่นแบบกำหนดเอง

                  เป็นการใส่ลูกเล่นให้มีความโดดเด่นกว่าลูกเล่นที่โปรแกรมได้กำหนดให้ทำให้กำหนดได้โดยไม่ซ้ำแบบใครโดยมีขั้นตอนในการสร้างดังนี้                  1. เลือกวัตถุที่ต้องการ                  2. คลิกที่แท็บภาพเคลื่อนไหว                  3. เพื่อเพิ่มภาพเคลื่อนไหว




                  4. เลือกลูกเล่นให้กับวัตถุ                  5. กำหนดความเร็ว



              โดยในโปรแกรมได้แบ่งลูกเล่นต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้


              เข้า (Entrance) : เป็นการกำหนดให้วัตถุเคลื่อนเข้ามาภายในสไลด์              ตัวเน้น (Emphasis) : เป็นการกำหนดให้วัตถุนั้นโดดเด่นหลังจากวัตถุนั้นปรากฏในสไลด์แล้ว              ออก (Exit) : เป็นการกำหนดให้วัตถุหายไป เมื่อไม่ต้องการให้วัตถุนั้นอยู่ในสไลด์อีก              เส้นทางการเคลื่อนที่ (Motion Path) : เป็นการกำหนดให้วัตถุเด้ง

              ลักษณะพิเศษเพิ่ม


              นอกจากลูกเล่นที่โปรแกรมมีให้เลือกใช้งานแล้วยังสามารถเลือกลูกเล่นเพิ่มเติมได้อีกโดยในหน้าต่างลักษณะพิเศษเพิ่มเป็น 4 หมวดหมู่ดังนี้              1. พื้นฐาน (Basic) จะเป็นลูกเล่นที่มีลักษณะแบบเรียบง่ายไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นมากนัก เหมาะสำหรับงานนำเสนอแบบทั่วไป ตัวอย่างลูกเล่นในรูปแบบนี้คือแถบแยก เลื่อนออกช้า ๆ วงล้อ เป็นต้น


              2. ละเอียด (Subtle) จะเป็นลูกเล่นที่มีลักษณะการแสดงแบบช้า ๆ ค่อย ๆ ปรากฏขึ้นไม่เน้นความตื่นเต้นมากนัก เหมาะสำหรับงานเชิงวิทยาการหรือหลักการความรู้


              3. ปานกลาง (Moderate) จะเป็นลูกเล่นที่มีลักษณะแบบทั่วไปไม่ได้หวือหวามากนัก แต่ก็มีความน่าสนใจมากกว่า ลักษณะแรก ตัวอย่างรูปแบบในลักษณะนี้ ได้แก่ เคลื่อนขึ้น ย่อ/ขยาย แผ่ ซูม เป็นต้น



การกำหนดลูกเล่นหลายแบบให้กับวัตถุชิ้นเดียว

          สามารถกำหนดลูกเล่นหลายแบบให้กับวัตถุชิ้นเดียวภายในสไลด์งานนำเสนอได้เพื่อเพิ่มความสนใจให้กับงานนำเสนอมากยิ่งขึ้นโดยมีขั้นตอนดังนี้          1.  คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการ          2.  คลิกแท็บภาพการเคลื่อนไหว (Animations)          3.  คลิกเลือกคำสั่งเพิ่มภาพเคลื่อนไหว


          4.  คลิกเลือกลักษณะการเคลื่อนไหว


          5.  ย้อนกลับไปทำตามหัวข้อที่ 3          6.  เลือกลักษณะการเคลื่อนไหวแบบใหม่


          7.  คลิกที่บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane)          8.  จะปรากฏรายละเอียดการเคลื่อนไหวของวัตถุที่ถูกเลือกใช้ไป



การกำหนดลำดับการแสดงลูกเล่นภายในสไลด์

          สามารถกำหนดลำดับการแสดงของลูกเล่นที่กำหนดไว้ภายในสไลด์ได้ดังนี้          1.  คลิกเลือกรายการที่ต้องการเปลี่ยนแปลง          2.  คลิกเมาส์เลือกสลับตำแหน่งตามที่ต้องการ


          3.  รายการภาพเคลื่อนไหวจะถูกสลับตำแหน่ง



การยกเลิกลูกเล่นภายในสไลด์


          หาลูกเล่นที่ได้กำหนดไว้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนักสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้          1.  คลิกรายการที่ต้องการยกเลิก          2.  จะปรากฏลูกศรหัวลง (Drop Down) คลิกที่ลูกศร          3.  คลิกเลือกเอาออก (Remove)




ารนำเสนอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ระบบปฏิบัติการ หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้

หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ โปรแกรมอรรถประโยชน์ หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ มีหน้าที่บำรุง...